เมนู

กับบททุกบทอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าอื่นมิใช่ธรรมมีเว้นจากปาณาติบาต
เป็นต้น ลึกซึ้งจริง ๆ ไม่ใช่ตื้น.
ก็สาวกบารมีญาณลึกซึ้ง แต่ปัจเจกโพธิญาณยังลึกซึ้งกว่านั้น
ฉะนั้น จึงไม่มีคำกำหนดไว้ในสาวกบารมีญาณนั้น และพระสัพพัญญุต-
ญาณยังลึกซึ้งกว่าปัจเจกโพธิญาณนั้น ฉะนั้น จึงไม่มีคำกำหนดไว้ใน
ปัจเจกโพธิญาณนั้น ส่วนญาณอื่นที่ลึกซึ้งกว่าพระสัพพัญญุตญาณนี้ไม่มี
ฉะนั้น จึงได้คำกำหนดว่า ลึกซึ้งทีเดียว. พึงทราบคำทั้งหมดว่า เห็น
ได้ยาก รู้ตามได้ยาก เหมือนอย่างนั้น.
ก็คำถามในบทว่า กตเม จ เต ภิกฺขเว นี้ เป็นคำถามเพื่อ
ประสงค์จะแก้ธรรมเหล่านั้น.
ในคำเป็นต้นว่า สนฺติ ภิกฺขเว เอเก สมณพฺราหฺมณา ดังนี้
เป็นคำตอบคำถาม.
หากจะมีคำถามว่า ก็เหตุไรจึงทรงเริ่มคำคอบคำถามนี้อย่างนี้ ?
ตอบว่า การที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงถึงฐานะ 4 ประการ
แล้วทรงบันลือเป็นการยิ่งใหญ่ พระปรีชาญาณก็ติดตามทา ความที่พระ
พุทธญาณยิ่งใหญ่ย่อมปรากฏ พระธรรมเทศนาลึกซึ้ง ตรึงตราไว้ด้วย
พระไตรลักษณ์ ประกอบด้วยสุญญตา.

ฐานะ 4 ประการอะไรบ้าง ?


คือ ทรงบัญญัติพระวินัย ประการ 1 ทรงกำหนดธรรมอันเป็น
ภูมิพิเศษ ประการ 1 ทรงจำแนกปัจจยาการ ประการ 1 ทรงรู้ถึงลัทธิอื่น
ประการ 1.

เพราะฉะนั้น ธรรมดาว่าการทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อเรื่องลง
กันได้อย่างนี้ว่า นี้โทษเบา นี้โทษหนัก นี้เป็นความผิดแก้ไขไม่ได้ นี้
เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ นี้เป็นอาบัติถึงชั้นเด็ดขาด นี้เป็นอาบัติถึง
ขั้นอยู่กรรม นี้เป็นอาบัติขั้นแสดง นี้เป็นโลกวัชชะ นี้เป็นปัณณัตติวัชชะ
ควรบัญญัติข้อนี้เข้าในเรื่องนี้ ดังนี้ ในการทรงบัญญัติสิกขาบทนั้น ผู้อื่น
ไม่มีปรีชาสามารถ เรื่องนี้มิใช่วิสัยของผู้อื่น เป็นวิสัยของพระตถาคต
เท่านั้น. ดังนั้น การที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงถึงฐานะ คือ ทรงบัญญัติ
พระวินัยดังนี้ ทรงบันลือจึงเป็นการยิ่งใหญ่ พระปรีชาญาณก็ติดตามมา
ประกอบด้วยสุญญตา ดังนี้แล.
อนึ่ง คนเหล่าอื่นไม่มีปรีชาสามารถจะกล่าวจำแนกอภิธรรมปิฎก
สมันตปัฏฐานอนันตนัย 24 ประการว่า ชื่อว่า สติปัฏฐาน 4 ชื่อว่า
อริยมรรคมีองค์ 8 ชื่อว่า ขันธ์ 5 ชื่อว่า อายตนะ 12 ชื่อว่า ธาตุ 18
ชื่อว่า อริยสัจ 4 ชื่อว่า อินทรีย์ 22 ชื่อว่า เหตุ 9 ชื่อว่า อาหาร 4
ชื่อว่า ผัสสะ 7 ชื่อว่า เวทนา 7 ชื่อว่า สัญญา 7 ชื่อว่า เจตนา 7
ชื่อว่า จิต 7 ในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กามาวจรธรรมเท่านี้ ชื่อว่า
รูปาวจรปริยาปันธรรมเท่านี้ ชื่อว่า อรูปาวจรอปริยาปันธรรมเท่านี้ ชื่อว่า
โลกิยธรรมเท่านี้ ชื่อว่า โลกุตตรธรรมเท่านี้ ดังนี้. เรื่องนี้มิใช่วิสัย
ของผู้อื่น เป็นวิสัยของพระตถาคตเท่านั้น. ดังนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทรงถึงฐานะ คือ ทรงกำหนดธรรมอันเป็นภูมิพิเศษ ทรงบันลือจึงเป็น
การยิ่งใหญ่ พระปรีชาญาณก็ติดตามมา ประกอบด้วยสุญญตา ดังนี้แล
อนึ่ง อวิชชานี้ใดเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย โดยอาการ 9 อย่าง
คือ อวิชชานั้นเป็นปัจจัยโดยภาวะที่เกิดขึ้น 1 เป็นปัจจัยโดยภาวะที่เป็น

ไป 1 เป็นปัจจัยโดยภาวะที่เป็นนิมิต 1 เป็นปัจจัยโดยความประมวลมา 1
โดยเป็นความประกอบร่วม 1 โดยเป็นความกังวล 1 โดยเป็นสมุทัย 1
โดยเป็นเหตุ 1 โดยเป็นปัจจัย 1
อนึ่ง สังขารเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยแก่วิญญาณเป็นต้น โดยอาการ
9 อย่าง ดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย
ชื่อธัมมัฏฐิติญาณ อย่างไร ? คือ อวิชชาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิด
ของสังขาร 1 เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไปของสังขาร 1 เป็นที่ตั้งแห่งนิมิต
ของสังขาร 1 เป็นที่ตั้งแห่งความประมวลมาของสังขาร 1 เป็นที่ตั้งแห่ง
การประกอบร่วมของสังขาร 1 เป็นที่ตั้งแห่งความกังวลของสังขาร 1
เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัยของสังขาร 1 เป็นที่ตั้งแห่งเหตุของสังขาร 1 เป็นที่
ตั้งแห่งปัจจัยของสังขาร 1 อวิชชาเป็นปัจจัยโดยอาการ 9 อย่างนี้ สังขาร
เป็นธรรมที่อาศัยกันเกิดขั้น ธรรมทั้ง 2 ประการนี้ เป็นปัจจัยและเกิด
แต่ปัจจัย ปัญญาในการกำหนดปัจจัยดังกล่าวนี้ ชื่อธัมมัฏฐิติญาณ
ทั้งอดีตกาล ทั้งอนาคตกาล อวิชชาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้นของสังขาร 1
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสังขาร 1 อวิชชาเป็นปัจจัยโดยอาการ 9 อย่างนี้
สังขารเป็นธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น ธรรมทั้ง 2 ประการนี้ เป็นปัจจัยและ
เกิดแต่ปัจจัย ปัญญาในการกำหนดปัจจัยดังกล่าวนี้ ชื่อธัมมัฏฐิติญาณ
ชาติเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดของชรามรณะ 1 และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของ
ชรามรณะ 1 ชาติเป็นปัจจัยโดยอาการ 9 อย่างนี้ ชรามรณะเกิดแต่ปัจจัย
ธรรมทั้ง 2 ประการนี้ เป็นปัจจัยและเกิดแต่ปัจจัย ปัญญาในการกำหนด
ปัจจัยดังกล่าวนี้ ชื่อธัมมัฏฐิติญาณ ดังนี้. คนเหล่าอื่นไม่มีปรีชาสามารถ
ที่จะกล่าวจำแนกปฏิจจสมุปบาทอันมีวัฏฏะ 3 มีกาล 3 มีสนธิ 3 มี

สังเขป 4 มีอาการ 20 ซึ่งเป็นไปโดยความเป็นปัจจัย โดยประการนั้น ๆ
แก่ธรรมนั้น ๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ได้ นี้มิใช่วิสัยของผู้อื่น เป็นวิสัย
ของพระตถาคตเท่านั้น. ดังนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงถึงฐานะคือ
ปัจจยาการ ทรงบันลือจึงเป็นการยิ่งใหญ่ พระปรีชาญาณก็ติดตามมา
ประกอบด้วยสุญญตา ดังนี้แล.
อนึ่ง คนพวกที่ชื่อว่า สัสสตวาทะ มี 4
คนพวกที่ชื่อว่า เอกัจจสัสสตวาทะ มี 4
คนพวกที่ชื่อว่า อันตาอันติกะ มี 4
คนพวกที่ชื่อว่า อมราวิกเขปะ มี 4
คนพวกที่ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนิกะ มี 2
คนพวกที่ชื่อว่า สัญญีวาทะ มี 16
คนพวกที่ชื่อว่า อสัญญีวาทะ มี 8
คนพวกที่ชื่อว่า เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ มี 8
คนพวกที่ชื่อว่า อุจเฉทวาทะ มี 7
คนพวกที่ชื่อว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ มี 5
คนเหล่านั้นอาศัยทิฏฐินี้แล้ว ยึดถือทิฏฐินี้ ฉะนั้น จึงรวมเป็น
ทิฏฐิ 62 คนเหล่าอื่นไม่มีปรีชาสามารถที่จะกล่าวทำลายทิฏฐิเหล่านั้น
สะสางไม่ให้รกได้ นี้มิใช่วิสัยของผู้อื่น เป็นวิสัยของพระตถาคตเท่านั้น
ดังนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงรู้ถึงฐานะข้อที่เป็นลัทธิอื่น ดังนี้แล้ว
ทรงบันลือจึงเป็นการยิ่งใหญ่ จัดเข้าเป็นพระปรีชาญาณย่อมติดตามมา
ความที่พระพุทธญาณยิ่งใหญ่ก็ปรากฏ เทศนาย่อมลึกซึ้ง ตรึงตราไว้ด้วย
ลักษณะ 3 ประกอบด้วยสุญญตา ดังนี้แล.

แต่ในที่นี้ ได้ฐานะคือลัทธิอื่น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
ธรรมราชา เมื่อทรงติดตามฐานะคือลัทธิอื่น เพื่อทรงแสดงความที่พระ
สัพพัญญุตญาณยิ่งใหญ่ และเพื่อทรงประกอบสุญญตาด้วยพระธรรมเทศนา
จึงทรงเริ่มคำถามและตอบอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง ดังนี้.
ในพระบาลีนั้น บทว่า สนฺติ ความว่า มีปรากฏเกิดขึ้น.
บทว่า ภิกฺขเว เป็นคำอาลปนะ.
บทว่า เอเก ก็คือ บางพวก.
บทว่า สมณพฺราหฺมณา ความว่า ที่ชื่อว่า สมณะ. เพราะความ
เข้าบวช ที่ชื่อว่า พราหมณ์ โดยกำเนิด. อีกอย่างหนึ่ง โลกสมมติ
อย่างนี้ว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง.
สมณพราหมณ์ ชื่อว่า ปุพฺพนฺตกปฺปิกา เพราะกำหนด คือ แยก
ขันธ์ส่วนอดีตแล้วยึดถือ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุพฺพนฺตกปฺปิกา เพราะ
การกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีอยู่แก่สมณพราหมณ์เหล่านั้น.
ศัพท์ว่า อนฺโต นี้ในพระบาลีนั้น ใช้ในอรรถ คือ ลำไส้ใหญ่
ภายใน ขอบเขต เลว สุด ส่วน.
จริงอยู่ อนฺต ศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ลำไส้ใหญ่ เช่นในประโยค
มีอาทิว่า อนฺตปูโร อุทรปูโร เต็มไส้ เต็มท้อง.
ใช้ในอรรถว่า ภายใน เช่นในประโยคมีอาทิว่า
จรนฺติ โลเก ปริวารฉนฺนา
อนฺโต อสุทฺธา พหิ โสภมานา

คนผู้ไม่สำรวม ภายในไม่บริสุทธิ์

งามแต่ภายนอก แวดล้อมด้วยบริวาร
เที่ยวไปในโลก.
ใช้ในอรรถว่า ขอบเขต เช่นในประโยคมีอาทิว่า
กายพนฺธนสฺส อนฺโต ชิรติ สา หริตนฺตํ วา ปถนฺตํ วา
ขอบประคดเอวเก่า ไฟนั้น มาถึงเขตของเขียวก็ดี เขตทางก็ดี.
ใช้ในอรรถว่า เลว เช่นในประโยคมีอาทิว่า
อนฺตมิทํ ภิกฺขเว ชีวิกานํ ยทิทํ ปิณฺโฑลฺยํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการเลี้ยงชีพทั้งหลาย
การเลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนี้เลว.
ใช้ในอรรถว่า สุด เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส
นี้แหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์.
จริงอยู่ ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งปวง เป็นส่วนสุด ท่านเรียกว่า
ที่สุดแห่งทุกข์.
ใช้ในอรรถว่า ส่วนอื่น เช่นในประโยคมีอาทิว่า
เอเสวฺโต ทุกฺขสฺส นี่เป็นส่วนอื่นของทุกข์. อนึ่ง ส่วนอื่น
ของทุกข์ที่นับว่าเป็นปัจจัยทุกอย่างเรียกว่า ส่วนสุด. ใช้ในอรรถว่า ส่วน
เช่นในประโยคมีอาทิว่า
สกฺกาโย โข อาวุโส เอโก อนฺโต
ดูก่อนอาวุโส สักกายะแล เป็นส่วนหนึ่ง.
แม้ในที่นี้ อนฺต ศัพท์ นี้นั้น ก็เป็นไปในอรรถว่า ส่วน.
แม้ กปฺป ศัพท์ ก็เป็นไปในอรรถหลายอย่าง เช่น อายุกัป

เลสกัป และวินัยกัป เป็นต้น อย่างนี้ว่า ติฏฺฐตุ ภนฺเต ภควา กปฺปํ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป
เถิด อตฺถิ กปโป นิปชฺชิตุํ มีเลสเพื่อจะนอน กปฺปกเตน อกปฺปกตํ
สํสิพฺพิตํ โหติ
จีวรที่ยังไม่ได้ทำเครื่องหมายไว้ เย็บกับจีวรที่ทำเครื่อง
หมายไว้แล้ว. ในที่นี้พึงทราบว่า เป็นไปในอรรถว่า ตัณหาและทิฏฐิ.
ข้อนี้แม้พระสารีบุตรก็ได้กล่าวไว้ว่า โดยอุทานว่า กปฺโป กัปปะ มี
2 อย่าง คือ ตัณหากัปปะ ข้อกำหนดคือตัณหา และทิฏฐิกัปปะ
ข้อกำหนดคือทิฏฐิ ฉะนั้น พึงทราบความในคำว่า ปุพฺพนฺตกปฺปิกา นี้
อย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีตโดยเป็นตัณหา
และทิฏฐิ ตั้งอยู่แล้ว เหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ปุพพนฺต-
กปฺปิกา
ผู้กำหนดขันธ์ส่วนอดีต.
ที่ชื่อว่า ปุพฺพนฺตานุทิฏฺฐิโน เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ผู้
กำหนดขันธ์ส่วนอดีตตั้งอยู่อย่างนี้ มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีตนั่นเอง
โดยที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ. สมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ เมื่อมา
ปรารภอาศัย อ้างอิงขันธ์ส่วนอดีตนั้น ทำแม้คนอื่นให้เห็นไปด้วย
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายอย่าง ด้วยเหตุ 18 ประการ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกวิหิตานิ ได้แก่หลายอย่าง.
บทว่า อธิมุตติปพานิ ได้แก่บทที่เป็นชื่อ.
อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ เรียกว่า อธิมุตติ เพราะเป็นไปครอบงำ
อรรถที่เป็นจริง ไม่ถือเอาตามสภาวะที่เป็นจริง. บทแห่งอธิมุตติทั้งหลาย
ชื่อว่า อธิมุตติปทานิ ได้แก่คำที่แสดงทิฏฐิ.
บทว่า อฏฺฐารสหิ วตฺถูหิ ได้แก่โดยเหตุ 18 ประการ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิว่า สนฺติ ภิกฺขเว เพื่อ
ตรัสถามโดยนัยมีอาทิว่า เต จ โภนฺโต แล้วจำแนกแสดงวัตถุเหล่านั้น
เพื่อประสงค์จะแสดงวัตถุ 18 ที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวย้ำ.
ในพระบาลีนั้น ที่ชื่อว่า วาทะ เพราะเป็นเครื่องกล่าว. คำว่า
วาทะ นี้ เป็นชื่อแห่งทิฏฐิ.
ที่ชื่อว่า สัสสตวาทะ เพราะมีวาทะว่าเที่ยง. อธิบายว่า เป็นพวก
มีความเห็นว่าเที่ยง.
แม้บทอื่น ๆ นอกจากนี้ ที่มีรูปอย่างนี้ ก็พึงทราบความโดยนัย
นี้แหละ.
คำว่า สสฺสตํ อตฺตานญฺจ โลกญฺจ ความว่า ยึดขันธ์มีรูปเป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่ง ว่าเป็นอัตตาและว่าเป็นโลก แล้วบัญญัติอัตตาและโลก
นั้นว่ายั่งยืน ไม่ตาย เที่ยง มั่นคง ดังที่ตรัสไว้ว่า บัญญัติรูปว่าเป็น
อัตตาและโลก บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง อนึ่ง บัญญัติเวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอัตตาและโลก บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
ในคำมีอาทิว่า อาตปฺปมนฺวาย มีอธิบายว่า ความเพียรชื่อว่า
อาตัปปะ. โดยภาวะที่ยังกิเลสให้เร่าร้อน ความเพียรนั้นแหละ ชื่อว่า
ปธานะ โดยเป็นความตั้งมั่น ชื่อว่า อนุโยคะ โดยที่ประกอบอยู่บ่อย ๆ
ความว่า เป็นไปตาม คืออาศัย คือพึ่งพิงความเพียรทั้ง 3 ประเภท
ดังพรรณนามาฉะนี้.
ความไม่อยู่ปราศแห่งสติ เรียกว่า ความไม่ประมาท
บทว่า สมฺมามนสิกาโร มีอธิบายว่า มนสิการโดยอุบาย คือ
มนสิการครั้งแรก โดยความได้แก่ปัญญา.

ก็ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สำเร็จแก่ผู้ที่ตั้งอยู่ในมนสิการใด
มนสิการนี้ท่านประสงค์เอาว่า มนสิการ ในที่นี้. ฉะนั้น ในพระบาลีนี้
จึงมีความย่อดังนี้ว่า อาศัยความเพียร สติ และปัญญา.
บทว่า ตถารูปํ ความว่า มีชาติอย่างนั้น.
บทว่า เจโตสมาธึ ความว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต .
บทว่า ผุสติ ความว่า ประสบ คือได้เฉพาะ.
ข้อว่า ยถา สมาหิเต จิตฺเต ความว่า สมาธิซึ่งเป็นเหตุตั้งจิตไว้
ชอบ คือ ตั้งไว้ด้วยดี.
ความแห่งบทว่า อเนกวิหิตํ ปุพฺเพนิวาสํ เป็นต้น ข้าพเจ้ากล่าว
ไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
คำว่า โส เอวมาห ความว่า เขาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอานุภาพ
แห่งฌานอย่างนี้ มีทิฏฐิ จึงกล่าวอย่างนี้ .
บทว่า วญฺโฌ ความว่า ไม่มีผล คือไม่ให้กำเนิดแก่ใคร ๆ ดุจ
สัตว์เลี้ยงเป็นหมันและตาลเป็นหมันเป็นต้น ฉะนั้น ด้วยบทว่า วญฺโฌ นี้
เขาจึงปฏิเสธภาวะที่จะให้กำเนิดรูปเป็นต้นแห่งคุณวิเศษมีฌานเป็นต้น ที่
ยึดถือว่าเป็นอัตตาและเป็นโลก.
ที่ชื่อว่า กูฏฏฺโฐ เพราะตั้งมั่นดุจยอดภูเขา.
ข้อว่า เอสิกฏฺฐาย ฐิโต ความว่า ตั้งมั่นเป็นเหมือนเสาระเนียด
ที่ตั้งอยู่ เหตุนั้น จึงชื่อว่า เอสิกฏฺฐายิฏฺฐิโต. อธิบายว่า เสาระเนียด
ที่ฝังแน่นย่อมตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ฉันใด อัตตาและโลกก็ตั้งมั่นเหมือน
ฉันนั้น. ด้วยบททั้งสอง ย่อมแสดงว่าโลกไม่พินาศ. แต่อาจารย์บางพวก
กล่าวเป็นพระบาลีว่า อีสิกฏฺายิฏฺฐิโต แล้วกล่าวว่า ตั้งอยู่ดุจไส้หญ้า

ปล้อง. ในคำของอาจารย์บางพวกนั้น มีอธิบายดังนี้ว่า คำที่กล่าวว่า
ย่อมเกิด นั้น มีอยู่ ย่อมออกไปดุจไส้ออกจากหญ้าปล้องตั้งอยู่ เพราะเหตุ
ที่ตั้งอยู่ดุจไส้หญ้าปล้องตั้งอยู่ ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงแล่นไป คือ
จากภพนี้ไปในภพอื่น.
บทว่า สํสรนฺติ ความว่า ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ.
บทว่า จวนฺติ ความว่า ถึงการนับอย่างนี้.
บทว่า อุปปชฺชนฺติ ก็เหมือนกัน.
แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ด้วยการที่ท่านได้กล่าวไว้ในเบื้องต้น
ว่า โลกและอัตตาเที่ยง ดังนี้ มาบัดนี้กลับกล่าวว่า ส่วนสัตว์เหล่านั้น
ย่อมแล่นไป ดังนี้เป็นต้น สมณะ หรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐินี้ ชื่อว่า ย่อม
ทำลายวาทะของตนด้วยตนเอง ชื่อว่า ความเห็นของผู้มีทิฏฐิ ไม่เนื่องกัน
หวั่นไหวเหมือนหลักที่ปักประจำในกองแกลบ และในความเห็นนี้ ย่อม
มีทั้งดีทั้งไม่ดี เหมือนชิ้นขนมคูถและโคมัยเป็นต้น ในกระเช้าของ
คนบ้า
บทว่า สสฺสติ ในคำว่า อตฺถิ เตฺวว สสฺสติสมํ นี้ มีความว่า ย่อม
สำคัญ แผ่นดินใหญ่ ว่าเที่ยง เพราะมีอยู่เป็นนิจ แม้ภูเขาสิเนรุ
พระจันทร์ พระอาทิตย์ ก็สำคัญอย่างนั้น ฉะนั้น เมื่อสำคัญอัตตาเสมอ
ด้วยสิ่งเหล่านั้นจึงกล่าวว่า แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดังนี้.
บัดนี้ สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิ เมื่อจะแสดงเหตุเพื่อให้สำเร็จ
ปฏิญญาว่า อัตตาและโลกเที่ยงดังนี้เป็นต้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะข้าพเจ้าอาศัยความเพียร ดังนี้.
ในพระบาลีนั้น คำว่า อิมินามหํ เอตํ ชานามิ ความว่า สมณะ

หรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิย่อมแสดงว่าด้วยการบรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้
ดังนี้โดยประจักษ์ มิใช่ข้าพเจ้ากล่าวโดยเพียงความเชื่ออย่างเดียว ดังนี้.
ก็ อักษร ในพระบาลีว่า อิมินา มหํ เอตํ ชานามิ นี้ ท่านกล่าว
เพื่อทำบทสนธิ.
คำว่า อิทํ ภิกฺขเว ปฐมํ ฐานํ ความว่า บรรดาฐานะทั้ง 4 ที่
ตรัสไว้ด้วยศัพท์ว่า ด้วยเหตุ 4 อย่าง นี้เป็นฐานะที่ 1 อธิบายว่า การ
ระลึกชาติได้เพียงแสนชาติดังนี้ เป็นเหตุที่ 1. แม้ในวาทะทั่ง 2 ข้างต้น
ก็นัยนี้แหละ.
ก็วาระนี้ ตรัสโดยระลึกได้แสนชาติอย่างเดียว. 2 วาระนอกนี้
ตรัสโดยระลึกได้ 10 ถึง 40 สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัป.
จริงอยู่ เดียรถีย์ผู้มีปัญญาน้อย ระลึกได้ ประมาณแสนชาติ ผู้มี
ปัญญาปานกลาง ระลึกได้ 10 สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัป ผู้มีปัญญา
หลักแหลม ระลึกได้ 40 สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัป ไม่เกินกว่านั้น.
ในวาระที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
สมณะหรือพราหมณ์บางคน ที่ชื่อว่า ตกฺกี เพราะช่างตรึก อีก
นัยหนึ่ง ชื่อว่า ตกฺกี เพราะว่า มีความตรึก คำว่า ตกฺกี นี้เป็นชื่อของ
คนช่างตรึกตรองแล้ว ยึดถือเป็นทิฏฐิ.
ที่ชื่อว่า วิมํสี เพราะประกอบด้วยปัญญาพิจารณา. ชื่อว่าการชั่งใจ
การชอบใจ การถูกใจด้วยปัญญาพิจารณา. เหมือนอย่างว่า บุรุษใช้ไม้
เท้าลองหยั่งน้ำดูแล้วจึงลง ฉันใด ผู้ที่ชั่งใจชอมใจ ถูกใจแล้ว จึงลง
ความเห็น นั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า วิมํสี เหมือนฉันนั้น.
บทว่า ตกฺกปริยาหตํ ความว่า กำหนดเอาด้วยความตรึก อธิบายว่า

ตรึกไปตามทางนั้น ๆ.
บทว่า วิมํสานุจริตํ ความว่า ดำเนินตามปัญญาพิจารณา มีประการ
ที่กล่าวแล้วนั้น.
บทว่า สยํ ปาฏิภาณํ ความว่า เกิดแต่ปฏิภาณของตนเท่านั้น.
บทว่า เอวมาห ความว่า ยึดสัสสตทิฏฐิ จึงกล่าวอย่างนี้.
ในพระบาลีนั้น นักตรึก มี 4 จำพวก คือ
1. อนุสฺสติโก นึกตามที่ได้ฟังเรื่องราวมา
2. ชาติสฺสโร นึกโดยระลึกชาติได้
3. ลาภี นึกเอาแต่ที่นึกได้
4. สุทฺธตกฺกิโก นึกเอาลอย ๆ

ใน 4 จำพวกนั้น ผู้ใดฟังเรื่องราวมาว่า ได้มีพระราชาพระนามว่า
เวสสันดร ดังนี้เป็นต้น แล้วก็นึกเอาว่า ด้วยเหตุนั้นแหละ ถ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า
คือ พระเวสสันดร อัตตาก็เที่ยง ดังนี้ ถือเป็นทิฏฐิ ผู้นี้
ชื่อว่า นึกตามที่ได้ฟังเรื่องราวมา.
ผู้ที่ระลึกชาติได้ 2 - 3 ชาติ แล้วนึกเอาว่า เมื่อก่อน เรานี่แหละ
ได้มีมาแล้วในที่ชื่อโน้น ฉะนั้น อัตตาจึงเที่ยงดังนี้ ชื่อว่า นึกโดยระลึก
ชาติได้.
อนึ่ง ผู้ใดนึกเอาว่า อัตตาของเราในบัดนี้ มีความสุขอยู่ฉันใด
แม้ในอดีตก็ได้มีความสุขมาแล้ว แม้ในอนาคตก็จักมีความสุขเหมือน
ฉันนั้น ถือเป็นทิฏฐิโดยที่ได้แก่ตัว ผู้นี้ชื่อว่า นึกเอาแต่ที่นึกได้.
อนึ่ง ผู้ที่ยึดถือโดยเพียงแต่นึกเอาเองเท่านั้น ว่า เมื่อเป็นอย่างนี้
ก็จะเป็นอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่า นึกเอาลอย ๆ.

คำว่า เอเตสํ วา อญฺญตเรน ความว่า ด้วยเหตุ 4 อย่างเหล่านี้
อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออย่างเดียวบ้าง 2 อย่างบ้าง 3 อย่างบ้าง.
คำว่า นตฺถิ อิโต พหิทฺธา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บันลือสีหนาทที่ใคร ๆ จะคัดค้านไม่ได้ว่า ก็เหตุอื่นแม้สักอย่างนอกจาก
เหตุเหล่านี้ ไม่มีเพื่อจะบัญญัติว่าเที่ยง.
คำว่า ตยิทํ ภิกฺขเว ตถาตโต ปชานาติ ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรื่องนี้นั้น คือ ทิฏฐิทั้ง 4 ประการ ตถาคตย่อมรู้โดยประการ
ต่าง ๆ.
ลำดับนั้น เมื่อจะทรงแสดงอาการคือการทรงรู้ชัดนั้น จึงตรัสพระ
บาลีมีอาทิว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ ดังนี้:-
ในพระบาลีนั้น ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ.
อีกอย่างหนึ่ง แม้เหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ก็ชื่อว่าฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ
เหมือนกัน ดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ 8 อย่าง
อะไรบ้าง ? คือ ขันธ์บ้าง อวิชชาบ้าง ผัสสะบ้าง สัญญาบ้าง วิตกบ้าง
อโยนิโสมนสิการบ้าง ปาปมิตรบ้าง การฟังมาจากคนอื่นบ้าง แต่ละอย่าง
เป็นฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น ขันธ์เป็นเหตุเป็นปัจจัย ด้วย
อรรถว่า เป็นสมุฏฐานเพื่อความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ขันธ์บ้าง เป็น
ฐานะ เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้. อวิชชาเป็นเหตุ ฯลฯ ปาปมิตรเป็น
เหตุ ฯ ล ฯ เสียงเล่าลือจากคนอื่นเป็นปัจจัย ด้วยอรรถว่า เป็นสมุฏฐาน
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เสียงเล่าลือจากคนอื่นเป็นฐานะเป็นที่
ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้.
คำว่า เอวํ คหิตา ความว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเบื้องต้น

กล่าวคือ ทิฏฐิ ที่บุคคลถือไว้ ยึดไว้ คือ เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า อัตตา
และโลกเที่ยง.
คำว่า เอวฺ ปรามฏฺฐา ความว่า ยึดไว้บ่อย ๆ เพราะความเป็นผู้
มีจิตไม่สงสัย ชื่อว่า ยึดมั่นแล้ว คือให้สำเร็จว่า นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
เปล่า. ส่วนฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิกล่าวคือ เหตุ เมื่อถือไว้ด้วยประการใด
ย่อมยังทิฏฐิทั้งหลายให้ตั้งขึ้น อันบุคคลถือไว้แล้ว ด้วยประการนั้น โดย
เป็นอารมณ์ โดยเป็นความเป็นไป และโดยการส้องเสพ ยึดมั่นไว้ ด้วย
การถือบ่อย ๆ เพราะเห็นว่าไม่มีโทษ.
คำว่า เอวํ คติกา ความว่า มีนิรยคติ ติรัจฉานคติ และเปตวิสัยคติ
อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างนี้.
คำว่า เอวํ อภิสมฺปรายา นี้เป็นไวพจน์ของบทแรกนั่นเอง มีคำ
อธิบายว่า มีโลกนี้และโลกอื่น อย่างนี้.
คำว่า ตญฺจ ตถาคโต ปชานาติ ความว่า ใช่ว่าตถาคตจะรู้ชัด
เฉพาะทิฏฐิพร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งคติ แต่อย่างเดียวก็หามิได้ ที่จริง
ตถาคตย่อมรู้ชัดทั้งหมดนั้น และรู้ชัดซึ่งศีล สมาธิ และพระสัพพัญญุต-
ญาณ ซึ่งเป็นคุณธรรมยิ่งขึ้นไปกว่านั้น.
คำว่า ตญฺจ ปชานํ น ปรามสติ ความว่า ก็แม้จะรู้ชัดคุณวิเศษ
ยอดเยี่ยมอย่างนี้นั้น แต่ก็ไม่ยึดมั่นด้วยความยึดมั่น คือ ตัณหาทิฏฐิ
มานะว่า เรารู้ชัด.
คำว่า อปรามสโต จสฺส ปจฺจตฺตญฺเจว นิพฺพุติ วิทิตา ความว่า
และเมื่อไม่ยึดมั่นอย่างนี้ ตถาคตก็รู้ความดับสนิทแห่งกิเลส คือ ความยึด
มั่นเหล่านั้นเองทีเดียว ถือด้วยตนนั่นเอง เพราะความไม่ยึดมั่นเป็นปัจจัย.

ทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานของตถาคตปรากฏแล้ว.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงข้อปฏิบัติที่พระตถาคตทรงปฏิบัติแล้ว เป็น
เหตุให้ทรงบรรลุความดับสนิทนั้น พวกเดียรถีย์ยินดีแล้ว ในเวทนา
เหล่าใด ย่อมเข้าไปสู่การยึดถือทิฏฐิว่า เราจักเป็นผู้มีความสุขในที่นี้ เรา
จักเป็นผู้มีความสุขในธรรมนี้ ดังนี้ เมื่อจะตรัสบอกกรรมฐาน โดยเวทนา
เหล่านั้นแหละ จึงตรัสพระบาลีมีอาทิว่า เวทนานํ สมุทยญฺจ ดังนี้.
ในพระบาลีนั้น คำว่า ยถาภูตํ วิทิตฺวา ความว่า เพราะอวิชชาเกิด
เวทนาจึงเกิด ฉะนั้น บุคคลย่อมเห็นความเกิดแห่งเวทนาขันธ์ด้วยอรรถ
คือความเกิดแห่งปัจจัย เวทนาเกิดเพราะตัณหาเกิด เพราะกรรมเกิด
เพราะผัสสะเกิด แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ชื่อว่า ย่อมเห็น
ความเกิดแห่งเวทนาขันธ์ รู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดแห่งเวทนา โดย
ลักษณะทั้ง 5 นี้ เพราะอวิชชาดับ เวทนาจึงดับ เพราะตัณหาดับ เพราะ
กรรมดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ฉะนั้น บุคคลย่อมเห็นความสิ้น
ไปแห่งเวทนาขันธ์ ด้วยอรรถคือความดับแห่งปัจจัย แม้เมื่อเห็นลักษณะ
แปรปรวน ชื่อว่า ย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ รู้ตามเป็นจริง
ซึ่งการถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนาทั้งหลาย โดยลักษณะทั้ง 5 นี้
อาศัยเวทนาใดเกิดสุข โสมนัส นี้เป็นอัสสาทะแห่งเวทนา รู้ตามเป็นจริง
ซึ่งอัสสาทะแห่งเวทนาดังนี้ เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดาใด นี้เป็นอาทีนพแห่งเวทนา รู้ตามเป็นจริง ซึ่งอาทีนพ
แห่งเวทนาดังกล่าวนี้ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในเวทนาใด
นี้เป็นเหตุเครื่องออกไปแห่งเวทนา รู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุเครื่องออกไป
แห่งเวทนา ดังกล่าวมานี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมีฉันทราคะไปปราศแล้ว ตถาคตจึงไม่
ยึดถือ จึงหลุดพ้น เมื่อยังมีอุปาทานใดอยู่ บุคคลก็พึงยึดถือธรรม
อะไร ๆ และขันธ์ก็จะพึงมีเพราะยึดถือไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต
ไม่ยึดถือธรรมอะไร ๆ เพราะไม่มีอุปาทานนั้นเทียว จึงหลุดพ้นแล้ว ดังนี้.
คำว่า อิเม โข เต ภิกฺขเว ความว่า ธรรมคือพระสัพพัญญุตญาณ
เหล่าใด ที่ตถาคตได้แสดงไว้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย อย่างนี้ว่า เราได้ถาม
แล้วว่า ก็ธรรมเหล่านี้นั้น ที่ลึกซึ้ง เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมเหล่านี้นั้นแล และตถาคตย่อมรู้ชัดข้อนั้น และรู้ชัดยิ่งกว่านั้นด้วย
ดังนี้ ธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่าลึกซึ้งเห็นได้ยาก ฯ ล ฯ รู้ได้เฉพาะ
บัณฑิต ซึ่งเป็นเหตุให้ปุถุชนและพระอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น
ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่อาจจะกล่าวสรรเสริญตถาคตตามเป็นจริงได้ ที่จริงตถาคต
เท่านั้น เมื่อกล่าวสรรเสริญตามเป็นจริง ก็จะพึงกล่าวได้โดยชอบฉะนั้นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อตรัสอธิบายอย่างนี้ ก็ตรัสถามเฉพาะ
สัพพัญญุตญาณ แม้เมื่อจะมอบให้ ก็มอบเฉพาะพระสัพพัญญุตญาณนั้น
แต่ได้ทรงจำแนกทิฏฐิไว้ในระหว่าง ฉะนั้นแล.
วรรณนาภาณวาร ที่ 1 จบ.
ในพระบาลีนั้น บทว่า เอกจฺจสสฺสติกา ความว่า มีวาทะว่าบาง
อย่างเที่ยง. พวกที่มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง มี 2 จำพวก คือ พวกที่มี
วาทะว่าบางอย่างของสัตว์เที่ยง 1 พวกที่มีวาทะว่าบางอย่างของสังขาร
เที่ยง 1 ในที่นี้ท่านถือเอาทั้ง 2 จำพวกทีเดียว.
บทว่า ยํ เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า กทาจิ ความว่า ในกาลบางคราว.

บทว่า กรหจิ เป็นไวพจน์ของบทว่า กทาจิ นั้นเอง.
บทว่า ทีฆสฺส อทฺธุโน ได้แก่แห่งกาลนาน.
บทว่า อจฺจเยน ได้แก่โดยล่วงไป.
บทว่า สํวฏฺฏติ ได้แก่ย่อมพินาศ.
บทว่า เยภุยฺเยน ตรัสหมายเอาสัตว์พวกที่เหลือจากพวกที่บังเกิด
ในพรหมโลกชั้นสูง หรือในอรูปพรหม.
ที่ชื่อว่า สำเร็จทางใจ เพราะบังเกิดด้วยฌานจิต.
ที่ชื่อว่า มีปีติเป็นภักษา เพราะสัตว์เหล่านั้นมีปีติเป็นภักษา คือ
เป็นอาหาร.
ที่ชื่อว่า มีรัศมีในตัวเอง เพราะสัตว์เหล่านั้นมีรัศมีเป็นของตัวเอง.
ที่ชื่อว่า ผู้เที่ยวไปในอากาศ เพราะเที่ยวไปในอากาศ.
ที่ชื่อว่า สุภฏฺฐายิโน เพราะอยู่ในสถานที่อันสวยงาม มีอุทยาน
วิมาน และต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สุภฏฺฐายิโน
เพราะเป็นผู้สวยงาม คือมีผ้าและอาภรณ์อันน่ารื่นรมย์ใจอยู่.
บทว่า จีรํ ทีฆมทฺธานํ ความว่า กำหนดอย่างสูงสุดตลอด 8 กัลป.
บทว่า วิวฏฺฏติ ได้แก่ ตั้งอยู่ด้วยดี.
บทว่า สุญฺญํพฺรหฺมวิมานํ ความว่า ชื่อว่า ว่าง เพราะไม่มีสัตว์
บังเกิดตามปกติ ภูมิอันเป็นที่สถิตของพวกพรหม ย่อมบังเกิด. ผู้สร้าง
ก็ดี ผู้ใช้ให้สร้างก็ดี ซึ่งวิมานพรหมนั้น ย่อมไม่มี. แต่รัตนภูมิอันมีอุตุ
เป็นสมุฏฐาน ย่อมบังเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย ตามนัยที่กล่าวแล้วใน
วิสุทธิมรรค. และในรัตนภูมินี้ ย่อมบังเกิดอุทยานและต้นกัลปพฤกษ์
เป็นต้น ในสถานที่สัตว์บังเกิดตามปกตินั่นเอง ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมเกิดติดใจในสถานที่อยู่ตามปกติ สัตว์เหล่านั้นเจริญปฐมฌานแล้วลง
จากสถานที่อยู่นั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ครั้งนั้น
สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง ดังนี้เป็นต้น .
บทว่า อายุกฺขยา วา ปุญฺญกฺขยา วา ความว่า สัตว์เหล่าใด
ทำบุญกรรมไว้มากแล้วไปบังเกิดในเทวโลก ที่มีอายุน้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง
สัตว์เหล่านั้นไม่อาจดำรงอยู่ตลอดอายุ ด้วยกำลังบุญของตน แต่จะจุติโดย
ประมาณอายุของเทวโลกนั้นเอง ฉะนั้น จึงเรียกว่า จุติเพราะสิ้นอายุบ้าง
ส่วนสัตว์เหล่าใด ทำบุญกรรมไว้น้อยแล้วไปบังเกิดในเทวโลกที่มีอายุยืน
สัตว์เหล่านั้นไม่อาจดำรงอยู่ได้ตลอดอายุ ย่อมจุติเสียในระหว่าง เพราะ
ฉะนั้น เรียกว่า จุติเพราะสิ้นบุญบ้าง.
บทว่า ทีฆมทฺธานํ ติฏฺฐติ ความว่า ตลอดกัลปหรือกึ่งกัลป.
บทว่า อนภิรติ ความว่า ปรารถนาให้สัตว์แม้อื่นมา. ก็ความระอา
อันประกอบด้วยปฏิฆะ ไม่มีในพรหมโลก.
บทว่า ปริตสฺสนา ความว่า ความยุ่งยากใจ ความกระสับกระส่าย
ก็ความดิ้นรนนี้นั้น มี 4 อย่างคือ
1. ตาสตสฺสนา ความดิ้นรนเพราะความสะดุ้ง
2. ตณฺหาตสฺสนา ความดิ้นรนเพราะตัณหา
3. ทิฏฺฐิตสฺสนา ความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ
4. ญาณตสฺสนา ความดิ้นรนเพราะญาณ
ในความดิ้นรน 4 อย่างนั้น อาศัยชาติ ชรา พยาธิ มรณะ รู้สึก
กลัว รู้สึกน่ากลัว สยอง ขนลุก จิตสะดุ้ง หวาดหวั่น ดังนี้ นี้ชื่อว่า
ความดิ้นรนเพราะความสะดุ้ง.

ความดิ้นรนว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้ ดังนี้
นี้ชื่อว่า ความดิ้นรนเพราะตัณหา.
ความสะดุ้ง ความดิ้นรนนั่นแล ดังนี้ นี้ชื่อว่า ความดิ้นรนเพราะ
ทิฏฐิ.
ความดิ้นรนว่า แม้คนเหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระตถาคต
แล้ว โดยมากถึงความกลัวความสังเวชหวาดเสียว ดังนี้ นี้ชื่อว่า ความ
ดิ้นรนเพราะญาณ.
ก็ในที่นี้ ย่อมควรทั้งความดิ้นรนเพราะตัณหาทั้งความดิ้นรนเพราะ
ทิฏฐิ.
ก็คำว่า วิมานพรหม ในพระบาลีนี้ มิได้ตรัสว่า ว่างเปล่า เพราะ
มีสัตว์ผู้บังเกิดอยู่ก่อนแล้ว.
บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า เข้าไปด้วยการอุบัติ.
บทว่า สหพฺยตํ ความว่า ภาวะร่วมกัน.
บทว่า อภิภู ความว่า เป็นผู้ข่มว่า เราเป็นผู้เจริญที่สุด.
บทว่า อนภิภูโต ความว่า คนเหล่าอื่นข่มไม่ได้.
บทว่า อญฺญทตฺถุํ เป็นนิบาตในอรรถว่า ถ่องแท้.
ที่ชื่อว่า ทโส โดยการเห็น.
อธิบายว่า เราเห็นทุกอย่าง.
บทว่า วสวตฺตี ความว่า เราทำชนทั้งปวงให้อยู่ในอำนาจ.
บทว่า อิสฺสโร กตฺตา นิมฺมิตา ความว่า เราเป็นใหญ่ในโลก
เราเป็นผู้สร้างโลก และเนรมิตแผ่นดิน ป่าหิมพานต์ ภูเขาสิเนรุ จักรวาล
มหาสมุทร พระจันทร์ และพระอาทิตย์.

บทว่า เสฏฺโฐ สชฺชิตา ความว่า ย่อมสำคัญว่า เราเป็นผู้สูงสุด
และเป็นผู้จัดโลก คือเราเป็นผู้จำแนกสัตว์ทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ท่านจงชื่อ
ว่ากษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต โดยที่สุด ท่าน
จงชื่อว่าอูฐ จงชื่อว่าโค ดังนี้ .
บทว่า วสี ปิตา ภูตภพฺยานํ ความว่า ย่อมสำคัญว่า เราชื่อว่า
เป็นผู้มีอำนาจ เพราะเป็นผู้สั่งสมอำนาจไว้ เราเป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่
เป็นแล้ว และของเหล่าสัตว์ที่กำลังจะเป็น.
บรรดาเหล่าสัตว์ 2 ประเภทนั้น เหล่าสัตว์พวกอัณฑชะ และ
ชลาพุชะ อยู่ภายในกะเปาะไข่ และอยู่ภายในมดลูก ชื่อว่ากำลังจะเป็น
ดังแต่เวลาที่ออกภายนอกชื่อว่า เป็นแล้ว. เหล่าสัตว์พวกสังเสทชะ ใน
ขณะจิตดวงแรก ชื่อว่า กำลังจะเป็น ตั้งแต่จิตดวงที่ 2 ไป ชื่อว่า เป็น
แล้ว. เหล่าสัตว์พวกโอปปาติกะ ในอิริยาบถแรก ชื่อว่า กำลังจะเป็น
ตั้งแต่อิริยาบถที่ 2 ไป พึงทราบว่า ชื่อว่า เป็นแล้ว. ย่อมสำคัญว่า เรา
เป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่เป็นแล้ว และของเหล่าสัตว์ที่กำลังจะเป็น ด้วย
ความสำคัญว่า สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด เป็นบุตรของเรา.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะให้เนื้อความสำเร็จ
โดยการสร้าง จึงทรงทำปฏิญญาว่า สัตว์เหล่านี้ เราเนรมิตแล้ว จึงตรัส
พระบาลีมีอาทิว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
บทว่า อิตฺถตฺตํ ความว่า เป็นอย่างนี้ อธิบายว่า เป็นพรหม.
บทว่า อิมินา มยํ ความว่า สัตว์เหล่านั้น แม้จุติ แม้อุบัติด้วย
กรรมของตน ๆ แต่โดยเพียงที่สำคัญไปอย่างเดียวเท่านั้น ก็สำคัญว่า พวก

เราอันพระพรหมผู้เจริญเนรมิตแล้ว ต่างก็พากันน้อมตัวลงไปแทบบาท
มูลของพระพรหมนั้นทีเดียว ดุจลิ่มสลักที่คดโดยช่องที่คดฉะนั้น.
บทว่า วณฺณวนฺตตโร จ ความว่า มีผิวพรรณงามกว่า อธิบายว่า
มีรูปงาม น่าเลื่อมใส.
บทว่า มเหสกฺขตโร ความว่า มียศใหญ่กว่า ด้วยอิสริยยศ และ
บริวารยศ.
บทว่า ฐานํ โข ปเนตํ ความว่า ข้อนี้เป็นเหตุที่จะมีได้. ที่ตรัส
ดังนี้หมายถึงสัตว์ผู้นั้นว่า สัตว์ผู้นั้นจุติจากชั้นนั้นแล้ว ไม่ไปในโลกอื่น
ย่อมมาในโลกนี้เท่านั้น.
บทว่า อคารสฺมา ได้แก่จากเรือน.
บทว่า อนคาริยํ ได้แก่บรรพชา. จริงอยู่ บรรพชา ท่านเรียกว่า
อนคาริยะ เพราะไม่มีการงาน มีการทำนา และเลี้ยงโคเป็นต้น ที่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลแก่เรือน.
บทว่า ปพฺพชติ ได้แก่เข้าถึง.
บทว่า ตโต ปรํ นานุสฺสรติ ความว่า ระลึกไม่ได้เกินกว่าขันธ์ที่
เคยอยู่อาศัยนั้น เมื่อไม่อาจระลึกได้ ก็ตั้งอยู่ในขันธ์ที่อาศัยนั้น ยึดถือ
เป็นทิฏฐิ.
ในคำว่า นิจฺโจ เป็นต้น ความว่า สัตว์เหล่านั้น เมื่อไม่เห็น
ความเกิดของพระพรหมนั้น จึงกล่าวว่า ยั่งยืน เมื่อไม่เห็นความตาย จึง
กล่าวว่า มั่นคง. เพราะมีอยู่ทุกเมื่อ จึงกล่าวว่า ยั่งยืน. เพราะไม่มีความ
แปรปรวนแม้โดยชรา จึงกล่าวว่า มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา.
คำที่เหลือในวาระนี้ ง่ายทั้งนั้น ดังนี้แล.

ในวาระที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
พวกเทวดาที่ชื่อว่า ขิฑฑาปโฑสิกะ เพราะเสียหาย คือพินาศ
ด้วยการเล่น. นักเขียนเขียนบาลีเป็นปทูสิกา ก็มี. บาลีว่า ปทูสิกา นั้น
ไม่มีในอรรถกถา.
บทว่า อติเวลํ ความว่า เกินกาล คือนานเกินไป.
บทว่า หสฺสขิฑฺฑารติธมฺมสมาปนฺนา ความว่า หมกมุ่น คือ
ฝักใฝ่อยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเส และความรื่นรมย์คือการ
เล่นหัว อธิบายว่า ฝักใฝ่อยู่กับความสุข อันเกิดแต่การเล่นการสรวลเส
และความสุข ที่เป็นกีฬาทางกายทางวาจา เป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย
ความรื่นรมย์มีประการดังกล่าวแล้วอยู่.
บทว่า สติ ปมุสฺสติ ความว่า ลืมนึกถึงของเคี้ยว และของบริโภค.
ได้ยินว่า เทวดาพวกขิฑฑาปโทสิกะเหล่านั้น เล่นนักษัตรด้วย
สิริสมบัติอันใหญ่ของตน ที่ได้มาด้วยบุญวิเศษ เพราะความที่ตนมีสมบัติ
ให้นั้น จึงไม่รู้ว่า เราบริโภคอาหารแล้วหรือยัง ครั้นเลยเวลาอาหาร
มื้อหนึ่งไป ทั้งเคี้ยวกินทั้งดื่มอยู่ไม่ขาดระยะ ก็จุติทันที ตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะเหตุไร ? เพราะเตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมแรง. ก็มนุษย์ทั้งหลาย
มีเตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมอ่อน มีกรัชกายแข็งแรง และเมื่อเตโชธาตุ
ของมนุษย์เหล่านั้นอ่อน กรัชกายแข็งแรง แม้เลยเวลาอาหารไปถึง 7
วัน ก็อาจใช้น้ำร้อนและข้าวต้มใสเป็นต้นบำรุงร่างกายได้. ส่วนพวก
เทวดามีเตโชธาตุแรง กรัชกายอ่อนแอ เทวดาเหล่านั้นเลยเวลาอาหาร
มื้อเดียวเท่านั้น ก็ไม่อาจจะดำรงอยู่ได้ เหมือนดอกปทุมหรือดอกอุบลที่

บุคคลวางไว้บนแผ่นหินอันร้อนในเวลาเที่ยงวันแห่งฤดูร้อน ตกเย็น แม้
จะตักน้ำรดตั้งร้อยหม้อ ก็ไม่เป็นปกติได้ ย่อมพินาศไปถ่ายเดียว ฉันใด
เทวดาพวกขิฑฑาปโทสิกะ แม้จะเคี้ยว แม้จะดื่มอยู่ไม่ขาดระยะในภายหลัง
ก็จุติทันที ตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เพราะลืมสติ เทวดาเหล่านั้น จึงจุติจากชั้นนั้น ดังนี้.
ถามว่า ก็เทวดาเหล่านั้น เป็นพวกไหน ?
ตอบว่า ในอรรถกถามิได้มีการวิจารณ์ไว้ว่า เป็นพวกชื่อนี้. แต่
เพราะได้กล่าวไว้โดยไม่ต่างกันว่า เหล่าเทวดามีเตโชธาตุอันเกิดแต่กรรม
แรง มีกรัชกายอ่อนแอ ดังนี้ เทวดาพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งอาศัยกวฬิงกา-
ราหาร เลี้ยงชีพ ทำอยู่อย่างนี้ เทวดาเหล่านั้นแหละ. พึงทราบว่า จุติ
ดังนี้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เทวดาชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิต-
วสวัตดี คือเทวดาพวกขิฑฑาปโทสิกะนั้น ด้วยว่า เทวดาพวกนี้ท่านเรียกว่า
ขิฑฑาปโทสิกะ ด้วยเหตุเพียงเสียเพราะการเล่นเท่านั้น. คำที่เหลือใน
วาระนี้ พึงทราบตามนัยแรกนั้นแล.
ในวาระที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
พวกเทวดาที่ชื่อว่า มโนปโทสิกะ เพราะถูกใจลงโทษ คือทำให้
ฉิบหาย ทำให้พินาศ เทวดาพวกนี้ เป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราช.
ได้ยินว่า บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทพบุตรองค์หนึ่งคิดว่า จักเล่น
นักษัตร จึงเดินทางไปด้วยรถพร้อมทั้งบริวาร. ครั้งนั้น เทพบุตรองค์
อื่นเมื่อออกไปเห็นเทพบุตรองค์นั้นไปข้างหน้า ก็โกรธกล่าวว่า ช่างกระไร
ชาวเราเอ่ย เทพบุตรองค์นี้ช่างตระหนี่ ได้พบผู้หนึ่งราวกะว่าไม่เคยพบ
ไปเหมือนกับจะยืดและเหมือนกับจะแตก ด้วยความอิ่มใจ. ฝ่ายเทพบุตร

องค์ที่ไปข้างหน้าเหลียวกลับมาเห็นเทพบุตรองค์นั้นโกรธ ขึ้นชื่อว่า คน
โกรธกัน ย่อมรู้ได้ง่าย จึงรู้ว่า เทพบุตรองค์นั้นโกรธ ก็เลยโกรธตอบว่า
ท่านโกรธเรา จักทำอะไรเราได้ สมบัตินี้เราได้มาด้วยอำนาจบุญ มีทาน
ศีล เป็นต้น มิใช่ได้มาด้วยอำนาจของท่าน. ถ้าเมื่อเทพบุตรองค์หนึ่งโกรธ
อีกองค์ไม่โกรธก็ยังคุ้มอยู่ได้. แต่เมื่อโกรธทั้ง 2 ฝ่าย ความโกรธของ
ฝ่ายหนึ่ง ย่อมเป็นปัจจัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ความโกรธของฝ่ายแม้นั้น ก็เป็น
ปัจจัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ฉะนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายจึงจุติทั้ง ๆ ที่นางสนมกำนัลพากัน
คร่ำครวญอยู่นั่นเอง. นี้เป็นเรื่องธรรมดาในการโกรธของพวกเทวดา
คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวนั่นแล.
ในวาระของนักตรึก มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
สมณะหรือพราหมณ์ผู้ตรึกนี้ ย่อมเห็นความแตก ทำลายของจักษุ
เป็นต้น แต่เพราะเหตุที่จิตดวงแรก ๆ พอให้ปัจจัยแก่ดวงหลัง ๆ จึงดับ
ไปฉะนั้น จึงไม่เห็นความแตกทำลายของจิต ซึ่งแม้จะมีกำลังกว่าการแตก
ทำลายของจักษุ เป็นต้น. สมณะหรือพราหมณ์ผู้ตรึกนั้น เมื่อไม่เห็นความ
แตกทำลายของจิตนั้น จึงยึดถือว่า เมื่ออัตตภาพนี้แตกทำลายแล้ว จิตย่อม
ไปในอัตตภาพอื่นเหมือนอย่างนกละต้นไม้ต้นหนึ่งแล้วไปจับที่ต้นอื่นฉะนั้น
จึงกล่าวอย่างนี้.
คำที่เหลือในวาระนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
บทว่า อนฺตานนฺติกา ความว่า มีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด
อธิบายว่า มีวาทะเป็นไปปรารภโลกว่า มีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี บางที่
มีที่สุดและไม่มีที่สุด มีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่.
บทว่า อนฺตสญฺญี โลกสฺมึ วิหรติ ความว่า สมณะหรือพราหมณ์

มิได้ขยายปฏิภาคนิมิตไปถึงขอบจักรวาล ยึดถือเอาขอบจักรวาลนั้นว่า
เป็นโลก จึงมีความสำคัญในโลกว่า มีที่สุดอยู่ แต่ในกสิณที่ขยายออกไปถึง
ขอบจักรวาล มีความสำคัญว่า โลกไม่มีที่สุด อนึ่ง มิได้ขยายไปด้านบน
และด้านล่างขยายไปแต่ด้านขวาง จึงมีความสำคัญในโลกว่า ด้านบนและ
ด้านล่าง มีที่สุด มีความสำคัญในโลกว่า ด้านขว้างไม่มีที่สุด.
วาทะของสมณะหรือพราหมณ์พวกตรึก พึงทราบตามนัยที่กล่าว
แล้วนั่นแล.
วาทะทั้ง 4 อย่างนี้ จัดเข้าในปุพพันตกัปปิกวาทะ เพราะยึดถือ
ด้วยทิฏฐิ ตามทำนองที่ตนเคยเห็นแล้วนั่นเอง.
ที่ชื่อว่า อมรา เพราะไม่ตาย.
อมรานั้น คือ อะไร ?
คือความเห็นและวาทะของคนผู้เห็นไป ซึ่งเว้นจากความสิ้นสุด
โดยนัยมีอาทิว่า ความเห็นของเราอย่างนี้ก็มิใช่ ดังนี้.
ที่ชื่อว่า วิกฺเขโป เพราะดิ้นไปมีอย่างต่าง ๆ.
ที่ชื่อว่า อมราวิกฺเขโป เพราะทิฏฐิและวาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
สมณะหรือพราหมณ์ ชื่อว่า อมราวิกเขปิกะ เพราะมีทิฏฐิและวาจา
ดิ้นได้ไม่ตายตัว.
อีกนัยหนึ่ง ปลาชนิดหนึ่ง ชื่ออมรา แปลว่าปลาไหล. ปลาไหล
นั้น เมื่อแล่นไปในน้ำด้วยการผุดขึ้นและดำลงเป็นต้น ใคร ๆ ไม่อาจจับ
ได้ แม้วาทะนี้ก็เหมือนอย่างนั้น แล่นไปข้างโน้นข้างนี้ ไม่เข้าถึงอาการ
ที่จะจับไว้ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า อมราวิกเขปะ. สมณะหรือพราหมณ์
ที่ชื่อว่า อมราวิกเขปิกะ เพราะมีทิฏฐิและวาจาดิ้นได้เหมือนปลาไหล

บทว่า อิทํ กุสลนฺติ ยถาภูตํ นปฺปชานาติ ความว่า ไม่รู้กุศล-
กรรมบถ 10 ตามความเป็นจริง. แม้ในฝ่ายอกุศล ก็ประสงค์เอาอกุศล-
กรรมบถ 10 นั่นเอง.
บทว่า โส มมสฺส วิฆาโต ความว่า พึงเป็นความเดือนร้อน
คือ พึงเป็นความทุกข์แก่เรา เพราะเกิดความร้อนใจว่า เรากล่าวเท็จ
เสียแล้ว.
บทว่า โส มมสฺส อนฺตราโย ความว่า ความร้อนใจนั้น พึงเป็น
อันตรายแก่สวรรค์และมรรคของเรา.
บทว่า มุสาวาทภยา มุสาวาทปริเชคุจฺฉา ความว่า เพราะความ
เกรงกลัว และเพราะความละอายในการพูดเท็จ
บทว่า วาจาวิกฺเขปํ อาปชฺชติ ความว่า จึงกล่าววาจาดิ้นได้
ไม่ตายตัว คือดิ้นไปไม่มีที่สุด.
ในคำว่า เอวนฺติปิ เม โน ดังนี้เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
คำว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ ดังนี้ เป็นคำดิ้นได้ไม่
แน่นอน.
คำว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนั้นก็มิใช่ ท่านปฏิเสธวาทะว่า
เที่ยง ที่กล่าวไว้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง
คำว่า ความเห็นของเราว่า อย่างอื่นก็มิใช่ ท่านปฏิเสธวาทะว่า
เที่ยงบางอย่าง ว่าไม่เที่ยงบางอย่าง ที่กล่าวไว้โดยประการอื่นจากความ
เที่ยง.
คำว่า ความเห็นของเราว่า ไม่ใช่ก็มิใช่ ท่านปฏิเสธวาทะว่า
ขาดสูญ ที่กล่าวไว้ว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย สัตว์ไม่มี.

คำว่า ความเห็นของเรามิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ท่านปฏิเสธวาทะของ
นักตรึก ที่กล่าวไว้ว่า เป็นก็ไม่ใช่ ไม่เป็นก็ไม่ใช่.
ก็บุคคลผู้มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัวนี้ ถูกถามว่า นี้เป็นกุศลหรือ
อกุศล ย่อมไม่ตอบอะไร ๆ หรือถูกถามว่า นี้เป็นกุศลหรือ ก็กล่าวว่า
ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่. ลำดับนั้น เมื่อเขากล่าวว่า อะไรเป็น
กุศล ก็กล่าวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนั้นก็มิใช่ เมื่อเขากล่าวว่า
อย่างอื่นจากทั้ง 2 อย่างหรือ ก็กล่าวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างอื่น
ก็มิใช่. ลำดับนั้น เมื่อเขากล่าวว่า ลัทธิของท่านว่า ไม่ใช่ทั้ง 3 อย่าง
หรือ ก็กล่าวว่า ความเห็นของเราว่า ไม่ใช่ก็มิใช่. ลำดับนั้น เมื่อเขา
กล่าวว่า ลัทธิของท่านว่าไม่ใช่ก็มิใช่หรือ ก็กล่าวดิ้นไปอย่างนี้เลยว่า
ความเห็นของเราว่า มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ดังนี้ ไม่ตั้งอยู่แม้ในฝ่ายหนึ่ง.
บทว่า ฉนฺโท วา ราโค วา ความว่า แม้เมื่อไม่ยืนยัน ก็รีบ
ตอบกุศลนั่นแหละว่า เป็นกุศล ตอบอกุศลนั่นแหละว่าเป็นอกุศล แล้วถาม
บัณฑิตเหล่าอื่นว่า ที่เราตอบคนชื่อโน้นไปอย่างนี้ คำตอบนั้น ตอบดี
แล้วหรือ ? เมื่อบัณฑิตเหล่านั้นตอบว่า ตอบดีแล้ว พ่อมหาจำเริญ
กุศลนั่นแหละท่านตอบว่ากุศล อกุศลนั่นแหละท่านก็ตอบว่าอกุศล ก็จะ
พึงมีความพอใจบ้าง ความติดใจบ้างในข้อนี้ อย่างนี้ว่า บัณฑิตเช่นกับเรา
ไม่มี. ก็ในพระบาลีนี้ ความพอใจ ได้แก่ความคิดใจอย่างเพลา ความ
ติดใจ ได้แก่ความติดใจอย่างแรง.
บทว่า โทโส วา ปฏิโฆ วา ความว่า แม้ที่เป็นกุศล ก็ตอบว่า
เป็นอกุศล หรือที่เป็นอกุศล ก็ตอบว่า เป็นกุศล ดังนี้ แล้วถามบัณฑิต
เหล่าอื่น เมื่อบัณฑิตเหล่านั้นตอบว่า ท่านตอบไม่ดี ก็จะพึงมีความ

เคืองใจบ้าง ความขัดใจบ้าง แก่เราในข้อนั้นว่า เรื่องแม้เพียงเท่านี้
เราก็ไม่รู้. แม้ในพระบาลีนี้ ความเคืองใจ ได้แก่ความโกรธอย่างเพลา
ความขัดใจ ได้แก่ความโกรธอย่างแรง.
บทว่า ตํ มมสฺส อุปาทานํ โส มมสฺส วิฆาโต ความว่า
ความพอใจและความติดใจทั้ง 2 นั้นจะพึงเป็นอุปาทานของเรา ความ
เคืองใจและความขัดใจทั้ง 2 จะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา หรือ
ทั้ง 2 อย่าง เป็นอุปาทานด้วยอำนาจความยึดมั่น เป็นความลำบากใจ
ด้วยอำนาจความกระทบ. จริงอยู่ ความติดใจย่อมจับอารมณ์ โดยความ
ที่ไม่อยากจะปล่อย เหมือนปลิงเกาะ. ความเคืองใจย่อมจับอารมณ์ โดย
ความที่อยากจะให้พินาศ เหมือนอสรพิษ และทั้ง 2 นี้ ย่อมทำให้เดือด
ร้อนด้วยอรรถว่า แผดเผาทั้งนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นอุปาทาน
และว่าเป็นความลำบากใจ. คำที่เหลือเหมือนกับวาระแรกนั่นแล.
บทว่า ปณฺฑิตา ความว่า ผู้ประกอบด้วยคุณเครื่องเป็นบัณฑิต.
บทว่า นิปุณา ความว่า ผู้เจริญด้วยปัญญาอันละเอียดสุขุมสามารถ
แทงตลอดอรรถอันพิเศษซึ่งละเอียดสุขุม.
บทว่า กตปรปฺปวาทา ความว่า เข้าใจการโต้วาทะและคุ้นเคย
การโต้กับฝ่ายอื่น.
บทว่า วาลเวธิรูปา ความว่า เช่นกับนายขมังธนู ยิงถูกขนทราย.
บทว่า เต ภินฺทนฺตา มญฺเญ ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมเที่ยวไปราวกับจะทำลายทิฏฐิของตนเหล่าอื่นแม้สุขุม ด้วยกำลังปัญญา
ของตน ดุจนายขมังธนูยิงถูกขนทรายฉะนั้น.
บทว่า เต มํ ตตฺถ ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ซักไซ้

ไล่เลียง สอบสวนเราในข้อที่เป็นกุศลและอกุศลนั้น ๆ.
บทว่า สมนุยุญฺเชยฺยุํ ความว่า พึงถามถึงลัทธิว่า ท่านจงกล่าว
ลัทธิของตนว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล.
บทว่า สมนุคฺคาเหยฺยุํ ความว่า เมื่อตอบไปว่า เรื่องชื่อนี้
เป็นกุศล เป็นอกุศล ก็จะพึงถามถึงเหตุว่า ท่านให้ถือความข้อนี้ด้วยเหตุ
อะไร.
บทว่า สมนุภาเสยฺยุํ ความว่า เมื่อตอบเหตุไปว่า ด้วยเหตุชื่อนี้
ก็จะพึงขอโทษซักไซ้อย่างนี้ว่า ท่านยังไม่รู้เหตุนี้ ท่านก็จงถือเอาข้อนี้
จงละข้อนี้เสีย.
บทว่า น สมฺปาเยยฺยุํ ความว่า เราก็จะพึงให้คำตอบเขาไม่ได้
คือไม่อาจจะกล่าวตอบเขาได้.
บทว่า โส มมสฺส วิฆาโต ความว่า ชื่อว่า แม้จะพูดซ้ำซาก
ก็โต้ตอบเขาไม่ได้นั้น จะพึงเป็นความลำบากใจ คือเป็นทุกข์ เพราะทำ
ให้ริมฝีปาก เพดาน ลิ้น และคอแห้งทีเดียว แก่เรา. คำที่เหลือแม้ใน
วาระที่ 3 นี้ เหมือนกับวาระแรกนั้นเอง.
บทว่า มนฺโท ความว่า มีปัญญาอ่อน. คำนี้เป็นชื่อของคนไม่มี
ปัญญานั่นเอง.
บทว่า โมมูโห ความว่า เป็นคนมัวเมามากมาย. สัตว์ ท่าน
ประสงค์เอาว่า ตถาคโต ในคำว่า โหติ ตถาคโต เป็นต้น. คำที่เหลือ
ในวาระที่ แม้นี้ ง่ายทั้งนั้น.
อมราวิกเขปิกะ ทั้ง 4 แม้เหล่านี้ จัดเข้าในปุพพันตกัปปิกวาทะ
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ยึดถือความเห็นตามทำนองแห่งธรรมที่เป็น

ไปก่อนนั่นเอง.
ความเห็นว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ชื่อว่า อธิจจสมุปบันนะ.
สมณพราหมณ์ ที่ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนิกะ เพราะมีความเห็นว่า อัตตา
และโลกเกิดขึ้นลอย ๆ.
บทว่า อธิจฺจสมุปฺปนฺนํ ความว่า เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ.
คำว่า อสญฺญีสตฺตา นี้เป็นหัวข้อเทศนา. ความว่า มีอัตตภาพ
สักแต่ว่ารูป เพราะไม่มีจิตเกิดขึ้น.
พึงทราบความอุบัติของพวกอสัญญีสัตว์เหล่านั้น อย่างนี้.
ก็บุคคลบางคนบวชในลัทธิเดียรถีย์แล้ว ทำบริกรรมในวาโยกสิณ
ยังจตุตถฌานให้บังเกิด ออกจากฌานแล้ว เห็นโทษในจิตว่า เมื่อมีจิต
ย่อมมีทุกข์ เพราะถูกตัดมือเป็นต้น และมีภัยทั้งปวง พอกันทีด้วยจิตนี้
ความไม่มีจิตสงบแท้ ครั้นเห็นโทษในจิตอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อม
ถอย ทำกาละแล้ว ไปบังเกิดในพวกอสัญญีสัตว์ จิตของบุคคลนั้น ย่อม
กลับมาในโลกนี้ ด้วยความดับแห่งจุติจิต. ในพวกอสัญญีสัตว์นั้น ปรากฏ
แต่เพียงรูปขันธ์เท่านั้น. ธรรมดาว่า ลูกศรที่ถูกซัดขึ้นไปด้วยกำลังสายธนู
ย่อมไปในอากาศเท่ากำลังสายธนูนั้นเอง ฉันใด อสัญญีสัตว์เหล่านั้นใน
ชั้นอสัญญีสัตว์นั้น ถูกซัดไปด้วยกำลังแห่งฌาน เกิดขึ้นแล้ว ก็จะดำรง
อยู่ได้ตลอดกาลเท่าที่กำลังฌานมีอยู่เท่านั้น ฉันนั้นนั่นแล. แต่เมื่อกำลัง
ฌานเสื่อมถอย รูปขันธ์ในชั้นอสัญญีสัตว์นั้น ก็จะอันตรธาน ปฏิสนธิ
สัญญาย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ ก็เพราะสัญญาที่เกิดขึ้นในโลกนี้นั้น เป็นเหตุ
ให้ปรากฏการจุติของอสัญญีสัตว์เหล่านั้นในชั้นอสัญญีสัตว์นั้น ฉะนั้น จึง
ตรัสต่อไปว่า ก็และเทวดาเหล่านั้น ย่อมจุติจากชั้นนั้น เพราะความเกิด

ขึ้นแห่งสัญญา.
บทว่า สนฺตตาย ความว่า เพื่อความสงบ.
คำที่เหลือในวาระนี้ ง่ายทั้งนั้น.
แม้วาทะของนักตรึก ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นแสดงปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ 18 ประการ
อย่างนี้แล้ว บัดนี้มีพระประสงค์จะทรงแสดงอปรันตกัปปิกทิฏฐิ 44 ประ-
การ จึงตรัสพระบาลีมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง ดังนี้.
ในพระบาลีนั้น สมณพราหมณ์ที่ชื่อว่า อปรันตกัปปิกะ เพราะ
กำหนดอปรันตะ กล่าวคือขันธ์ส่วนอนาคต ยึดถือ. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า
อปรันตกัปปิกะ เพราะมีการกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต. แม้คำที่เหลือ
ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในเบื้องต้น ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อุทฺธมาฆตนิกา ความว่า ความตาย เรียกว่า อาฆาตนะ
สมณพราหมณ์ที่ชื่อว่า อุทฺธมาฆตนิกา เพราะกล่าวอัตตาเบื้องหน้าแต่
ความตาย.
วาทะที่เป็นไปว่า มีสัญญา ชื่อสัญญีวาทะ.
ในคำว่า อัตตาที่มีรูป เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ย่อมบัญญัติอัตตานั้นว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน
มีสัญญา ดังนี้ เพราะยึดถือรูปกสิณว่า เป็นอัตตา และยึดถือสัญญา ที่เป็น
ไปในรูปกสิณนั้น ว่าเป็นสัญญาของอัตตานั้น หรือเพราะเพียงแต่นึกเอา
เท่านั้น ดุจพวกนอกศาสนามีอาชีวกเป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น บทว่า อโรโค ความว่า เที่ยง.

อนึ่ง ย่อมบัญญัติอัตตานั้นว่า อัตตาที่ไม่มีรูปมีสัญญา ดังนี้ เพราะ
ยึดถือนิมิตแห่งอรูปสมาบัติว่าเป็นอัตตา และยึดถือสัญญาแห่งสมาบัติว่า
เป็นสัญญาของอัตตานั้น หรือเพราะเพียงแต่นึกเอาเท่านั้น ดุจพวก
นอกศาสนามีนิครนถ์เป็นต้น.
ส่วนข้อที่ 3 เป็นทิฏฐิที่เป็นไปด้วยอำนาจความยึดถือระคนกัน.
ข้อที่ 4 เป็นทิฏฐิที่เป็นไปด้วยความยึดถือโดยนึกเอาเท่านั้น.
จตุกกะที่ 2 พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในอันตานันติกวาทะนั่น-
แล.
ในจตุกกะที่ 3 พึงทราบว่า อัตตาชื่อว่ามีสัญญาอย่างเดียวกัน ด้วย
อำนาจแห่งผู้ได้สมาบัติ อัตตาชื่อว่ามีสัญญาต่างกัน ด้วยอำนาจแห่งผู้
ไม่ได้สมาบัติ อัตตาชื่อว่ามีสัญญานิดหน่อย ด้วยอำนาจแห่งกสิณนิด
หน่อย อัตตาชื่อว่ามีสัญญาหาประมาณมิได้ ด้วยอำนาจแห่งกสิณอัน
ไพบูลย์.
ส่วนในจตุกกะที่ 4 อธิบายว่า บุคคลมีทิพยจักษุ เห็นสัตว์ผู้บังเกิด
ในติกฌานภูมิและจตุกกฌานภูมิ ย่อมยึดถือว่า อัตตามีสุขอย่างเดียว เห็น
สัตว์บังเกิดในนรก ย่อมยึดถือว่า อัตตามีทุกข์อย่างเดียว เห็นสัตว์บังเกิด
ในหมู่มนุษย์ ย่อมยึดถือว่า อัตตามีทั้งสุขทั้งทุกข์ เห็นสัตว์บังเกิดในเทพ
ชั้นเวหัปผละ ย่อมยึดถือว่า อัตตามีทุกข์ก็มิใช่ มีสุขก็มิใช่.
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นพวก
ปุพพันตกัปปิกะ พวกที่ได้ทิพยจักษุ เป็นพวกอปรันตกัปปิกะ ดังนี้แล
อสัญญีวาทะ บัณฑิตพึงทราบด้วยอำนาจตุกกะทั้ง 2 ที่กล่าวไว้
ข้างต้นในสัญญีวาทะ.

เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ก็เหมือนกัน.
ก็เพียงแต่ในสัญญีวาทะนั้น ทิฏฐิเหล่านั้น ของพวกที่ถือว่า อัตตา
มีสัญญา, นอสัญญีวาทะ และเนวสัญญีนาสัญญีวาทะนี้ ทิฏฐิเหล่านั้น
พวกที่ถือว่า อัตตาไม่มีสัญญา และว่า อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา
ก็มิใช่.
ในทิฏฐิเหล่านั้น พึงตรวจสอบเหตุการณ์ ไม่ใช่โดยส่วนเดียว.
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า ความยึดถือแม้ของคนผู้มีทิฏฐิ ก็เช่นเดียวกับ
กระเช้าของคนบ้า.
ในอุจเฉทวาทะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า สโต ได้แก่ยังมีอยู่.
บทว่า อุจฺเฉทํ ได้แก่ความขาดสูญ.
บทว่า วินาสํ ได้แก่ความไม่พบปะ.
บทว่า วิภวํ ได้แก่ไปปราศจากภพ.
คำเหล่านี้ทั้งหมด เป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น.
ในอุจเฉทวาทะนั้น มีตนที่ถืออุจเฉททิฏฐิอยู่ 2 พวก คือผู้ได้
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ 1 ผู้ไม่ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ 1 ผู้ที่ได้
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เมื่อระลึกตาม มีทิพยจักษุ เห็นจุติไม่เห็นอุบัติ
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดสามารถเห็นเพียงจุติเท่านั้น ไม่เห็นอุบัติ ผู้นั้นชื่อว่า
ยึดถืออุจเฉททิฏฐิ.
ผู้ที่ไม่ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คิดว่า ใครเล่าจะรู้ปรโลก ย่อม
ยึดถือความขาดสูญ เพราะค่าที่ตนเป็นผู้ต้องการกามสุข หรือเพราะการ
นึกเอาเองเป็นต้นว่า สัตว์ทั้งหลาย ก็เหมือนกับใบไม้ที่หล่นจากต้นไม้

ไม่งอกต่อไปฉะนั้น.
ก็ในอธิการนี้ พึงทราบว่า ทิฏฐิ 7 เหล่านี้ เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
ตัณหาและทิฏฐิ หรือเพราะกำหนดเอาอย่างนั้น และอย่างอื่น.
ในพระบาลีนั้น บทว่า รูปี ได้แก่ผู้มีรูป.
บทว่า จาตุมฺมหาภูติโก ได้แก่สำเร็จด้วยมหาภูต 4.
ที่ชื่อว่า มาตาเปตฺติกํ เพราะมีมารดาและบิดา. นั้นได้แก่อะไร ?
ได้แก่สุกกะและโลหิต.
ที่ชื่อว่า มาตาเปตฺติกสมฺภโว เพราะสมภพ คือ เกิดในสุกกะ
และโลหิตอันเป็นของมารดาและบิดา.
สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีวาทะและทิฏฐิ ย่อมกล่าวอัตตภาพของ
มนุษย์ว่าอัตตา โดยยกรูปกายขึ้นเป็นประธาน.
บทว่า อิตฺเถเก ตัดบทเป็น อิตฺถํ เอเก ความเท่ากับ เอวเมเก.
สมณะหรือพราหมณ์พวกที่ 2 ปฏิเสธข้อนั้น กล่าวอัตตภาพอันเป็น
ทิพย์.
บทว่า ทิพฺโพ ความว่า เกิดในเทวโลก.
บทว่า กามาวจโร ได้แก่นับเนื่องในเทวดาชั้นกามาวจร 6 ชั้น.
ที่ชื่อว่า กวฬิงฺการาหารภกฺโข เพราะกินอาหาร คือคำข้าว.
บทว่า มโนมโย ได้แก่บังเกิดด้วยฌานจิต.
บทว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺคี ได้แก่ประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ครบ
ถ้วน.
บทว่า อหีนินฺทฺริโย ได้แก่มีอินทรีย์บริบูรณ์.

คำนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งอินทรีย์ ที่มีอยู่ในพรหมโลก และ
ด้วยอำนาจทรวดทรงของอินทรีย์นอกนี้.
เนื้อความของคำว่า สพฺพโส รูปสญฺญานํ สมติกฺกมา ดังนี้ เป็นต้น
ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
ส่วนในคำว่า อากาสานญฺจายตนุปโค เป็นต้น พึงทราบเนื้อ
ความอย่างนี้ว่า เข้าถึงภพชั้นอากาสานัญจายตนะ. คำที่เหลือในอุจเฉท-
วาทะนี้ ง่ายทั้งนั้น ดังนี้แล.
ในทิฏฐธรรมนิพพานวาทะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ธรรมที่ประจักษ์ เรียกว่า ทิฏฐธรรม.
คำนี้เป็นชื่อของอัตตภาพที่ได้เฉพาะในภพนั้น ๆ. นิพพานในทิฏฐ-
ธรรม ชื่อว่า นิพพานปัจจุบัน. อธิบายว่า ทุกข์สงบในอัตตภาพนี้เอง.
สมณพราหมณ์ ชื่อว่า ทิฏฐธรรมนิพพานวาทะ เพราะกล่าว
นิพพานปัจจุบันนั้น.
บทว่า ปรมทิฏฺฐนิพฺพานํ ได้แก่นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง
อธิบายว่า สูงสุด.
บทว่า ปญฺจหิ กามคุเณหิ ความว่า ด้วยส่วนแห่งกาม หรือด้วย
เครื่องผูก 5 อย่าง มีรูปเป็นที่ชอบใจและเป็นที่รักเป็นต้น.
บทว่า สมปฺปิโต ได้แก่เป็นผู้แนบแน่น คือติดแน่นด้วยดี.
บทว่า สมงฺคีภูโต ได้แก่ประกอบ.
บทว่า ปริจาเรติ ความว่า ยังอินทรีย์ให้เที่ยวไป ให้สัญจรไป นำ
เข้าไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง ตามสบายในกามคุณเหล่านั้น . ก็อีกนัยหนึ่ง

ย่อมพอใจ ย่อมยินดี ย่อมเล่น.
ก็กามคุณในที่นี้มี 2 อย่าง คือ ที่เป็นของมนุษย์ 1 ที่เป็นทิพย์ 1.
กามคุณที่เป็นของมนุษย์ พึงเห็นเช่นกับกามคุณของพระเจ้ามันธาตุราช
ส่วนกามคุณที่เป็นทิพย์ พึงเห็นเช่นกับกามคุณของปรนิมมิตวสวัตดีเทวราช
ฉะนั้นแล.
ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติการบรรลุนิพพานปัจจุบันของ
พวกที่เข้าถึงกาม เห็นปานนี้.
ในวาระที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
กามทั้งหลาย พึงทราบว่า ชื่อว่า ไม่เที่ยง ด้วยอรรถว่า มีแล้ว
กลับไม่มี ชื่อว่า เป็นทุกข์ ด้วยอรรถว่า บีบคั้น ชื่อว่า มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา ด้วยอรรถว่า ละปกติ.
บทว่า เตสํ วิปริณามญฺญถาภาวา ความว่า เพราะกามเหล่านั้น
กลายเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ แปรปรวน จึงเกิดความโศก ความคร่ำครวญ
ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจ โดยนัยที่กล่าวว่า แม้
สิ่งใดได้มีแก่เรา แม้สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา ดังนี้.
ใน 5 อย่างนั้น ความโศกมีลักษณะแผดเผาในภายใน ความ
คร่ำครวญมีลักษณะบ่นเพ้อพร่ำอาศัยความโศกนั้น ความทุกข์มีลักษณะ
บีบคั้นกาย ความโทมนัสมีลักษณะลำบากใจ ความคับแค้นใจมีลักษณะ
เศร้าสลดใจ.
เนื้อความของคำว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ดังนี้เป็นต้น ข้าพเจ้ากล่าว
ไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

บทว่า วิตกฺกิตํ ความว่า วิตกที่เป็นไปด้วยอำนาจยกจิตขึ้นไว้ใน
อารมณ์.
บทว่า วิจาริตํ ความว่า วิจารซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจเคล้าอารมณ์.
บทว่า เอเตเนตํ ความว่า ปฐมฌานนี้ปรากฏว่า หยาบเหมือน
กับมีหนาม ด้วยยังมีวิตกและวิจาร.
บทว่า ปิตคตํ ได้แก่ปีตินั่นเอง.
บทว่า เจตโส อุพฺพิลฺลาวิตตฺตํ ได้แก่เป็นเหตุทำใจให้หวาด-
เสียว.
บทว่า เจตโส อาโภโค ความว่า ออกจากฌานแล้ว จิตก็ยัง
คำนึง คือนึกถึงวนเวียนอยู่ในสุขนั้นบ่อย ๆ.
คำที่เหลือในทิฏฐธรรมนิพพานวาทะนี้ ง่ายทั้งนั้น.
โดยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ เป็นอันตรัสถึงทิฏฐิ 62 ทั้งหมด ซึ่ง
แบ่งเป็นอุจเฉททิฏฐิ 7 เท่านั้น ที่เหลือ เป็นสัสสตทิฏฐิ.
บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลปุพพันตกัปปิกทิฏฐิเหล่านั้น
ทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยวาระนี้ว่า อิเม โข เต ภิกฺขเว เป็นต้น แล้วทรง
วิสัชนาพระสัพพัญญุตญาณ. ทรงประมวลอปรันตกัปปิกทิฏฐิ และปุพ-
พันตอปรันตกัปปิกทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยวาระว่า อิเม
โข เต ภิกฺขเว
เป็นต้น แล้วทรงวิสัชนาพระญาณนั้นแหละ แม้เมื่อตรัส
ถามในพระดำรัสว่า กตเม จ เต ภิกฺขเว ธมฺมา เป็นต้น ก็ตรัสถาม
พระสัพพัญญุตญาณนั่นเอง แม้เมื่อทรงวิสัชนาก็ทรงยกทิฏฐิ 62 ประการ
ขึ้นแล้วทรงวิสัชนาพระสัพพัญญุตญาณนั่นเอง เหมือนดังทรงชั่งอัธยาศัย
ของสัตว์ทั้งหลายด้วยตาชั่ง เหมือนดังทรงยกทรายจากเชิงภูเขาสิเนรุ

ฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.
พระธรรมเทศนานี้มาแล้วด้วยอำนาจตามลำดับอนุสนธิอย่างนี้.

ก็พระสูตรมีอนุสนธิ 3 อย่าง คือ


1. ปุจฉานุสนธิ พระธรรมเทศนาที่ตรัสตอบคำถาม.
2. อัชฌาสยานุสนธิ พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงตามอัธยาศัย
ของสัตว์.
3. ยถานุสนธิ พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงตามลำดับเรื่อง.
ในอนุสนธิแห่งพระสูตร 3 อย่างนั้น พึงทราบปุจฉานุสนธิด้วย
อำนาจแห่งพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิสัชนาแก่ผู้ที่ทูลถามอย่าง
นี้ว่า เมื่อพระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้แล้ว นันทโคบาลจึงได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งใน ได้แก่อะไร ?
ฝั่งนอก ได้แก่อะไร ? สงสารในท่ามกลาง ได้แก่อะไร ? เกยบนบก
ได้แก่อะไร ? มนุษย์จับ ได้แก่อะไร ? อมนุษย์จับ ได้แก่อะไร ? ถูก
น้ำวนเอาไว้ ได้แก่อะไร ? ความเน่าใน ได้แก่อะไร ?
พึงทราบอัชฌาสยานุสนธิ ด้วยอำนาจแห่งพระสูตรที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์เหล่าอื่น แล้วตรัสอย่างนี้ว่า ครั้งนั้นแล
ภิกษุรูปหนึ่งเกิดปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า จำเริญละ เท่าที่พูดกันว่า รูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต่างก็เป็นอนัตตา เอาชิ กรรมที่
อนัตตากระทำแล้วจักถูกอัตตาไหนกัน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบความปริวิตกทางใจของภิกษุรูปนั้น ด้วยพระหฤทัยของพระองค์
จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้